หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โผงเผง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
   
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทรศัพท์
035-941-129
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ อบต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร 035-941-129 ค่ะ
 
     

ทางบก
 
ทางหลวงจังหวัดสาย อ่างทอง - บางบาล ผ่านตำบลโผงเผงระยะทางยาว ประมาณ 3 กิโลเมตร
 
ถนนลูกรังกั้นคลองชลประทานจากตำบลบางชะนี - ตำบลบางหลวง ผ่านหมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 4 ตำบลโผงเผง เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
 
ถนนทางเข้าหมู่ที่ 1 (คสล.)
 
ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน จำนวน 20 สาย สภาพการคมนาคม การสัญจร ไป - มา ในหมู่บ้านอยู่ในสภาพดี
 
ถนนลาดยางภายในหมู่บ้าน จำนวน 3 สาย
 
ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน จำนวน 13 สาย

ทางน้ำ
 
แม่น้ำเจ้าพระยา
 
ลำคลอง จำนวน 1 สาย
 
         
แหล่งน้ำธรรมชาติ

แม่น้ำ จำนวน 1 แห่ง

ลำคลอง จำนวน 3 แห่ง

บึง หนองและอื่นๆ จำนวน 5 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

ประปาใต้ดิน จำนวน 4 แห่ง
 
 
ทรัพยากรทราย ในเขตพื้นที่ตำบลโผงเผงจะพบแหล่งดูดทรายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณ หมู่ที่ 2, 7 และ 8 ในแต่ละบ่อจะมีปริมาณทรายมากน้อยต่างกัน เป็นการดูดทรายบนบกมักจะทำในพื้นที่กรรมสิทธิ์ของตนเอง
 
   
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ดังนี้ คือ

วัดถนนสุทธาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในหมู่ที่ 1 บ้านเลน เป็นวัดที่เก่าแก่มาก สร้างในสมัยกรุงธนบุรี ราว พ.ศ. 2323 ภายในวัดมีปราสาทเรือนแก้วที่สวยงามและพระพุทธรูปปางรำพึง ซึ่งแกะสลักจากไม้จันทร์ลงรักปิดทอง โดยมีความเชื่อกันถึงความศักดิ์สิทธิว่าหากท่านใดได้ ไปเคารพกราบไหว้สักการบูชาและได้ตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งไข่ไก่แล้วไม่ล้ม ท่านจะประสบแต่ความสุขความเจริญ ตามที่ท่านตั้งอธิษฐานตามที่ขอ

วัดพิจารณ์โสภณ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 8 บ้านโผงเผง เป็นพระประธานปางขัดสมาธิในพระอุโบสถ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวโผงเผงดั้งเดิม ที่มีมาพร้อมกับพระเจดีย์มอญ ทุกวันที่ 13 เมษายนของทุกปี จะมีประเพณีนมัสการหลวงพ่อขาว และงานนมัสการองค์พระเจดีย์มอญ จากประวัติศาสตร์เล่าว่า ชาวมอญเป็นคนสร้างในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหลวง โดยเดิมทีชาวมอญอาศัยอยู่ในเขตนี้ สถาปัตยกรรม จึงเป็นศิลปกรรมร่วมระหว่างอยุธยาตอนต้นและศิลปะของมอญ รูปทรงเจดีย์คว่ำศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลาย